วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีจุดประสงค์ยิ่งขึ้น

ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง

สมมุติฐาน
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงได้ห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 มา 1ห้องเรียนซึ่งผู้วิจัยทำการสอน ทดสอบเด็กทั้งห้องโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่น .66

วิธีการดำเนินการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.30
09.00 น. รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีในช่วงเวลา 08.3009.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3.เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

สรุปได้ว่า
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองการที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังการทดลองเด็กมีการพัฒนาทางด้านทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี และเมื่อจำแนกความสามารถทางทักษะทางวิทยาศาสตร์ออกเป็นรายด้าน พบว่ามีการพัฒนาในระดับดีมากคือ ด้านการสังเกต ส่วนด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ระดับดี เช่นกันนั้นอาจจะเป็นไปได้ที่การจัดกิจกรรมมีหลักการสำคัญคือเด็กต้องลงมือปฏิบัติและคิดขณะทำกิจกรรมในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิดการรับรู้ได้ดีกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทานเมื่อเด็กได้ฟังนิทานจนจบเรื่อง เด็กจะได้ทำการทดลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เช่น นิทานครึ่งวงกลมสีแดง เด็กจะทำการทดลองเรื่อง เรือล่มอุปกรณ์ที่เด็กได้รับ คือ เรือกระดาษ ลูกแก้ว ดินน้ำมันอ่างใส่น้ำ เด็กได้พับเรือกระดาษแบบง่ายๆ และตอบคำถามว่าเรือลำนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำเด็กจะอธิบายว่า ลอยน้ำได้มันเบาเด็กลองนำเรือกระดาษลอยน้ำ เด็กได้สังเกตว่า เรือกระดาษลอยน้ำได้ จากนั้นเด็กทดลองใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละคน เด็กตอบคำถามว่าถ้าใส่ลูกแก้วทีละลูกเรือจะจมหรือลอยน้ำ เด็กบางคนบอกจมเพราะใส่ลูกแก้ว เด็กบางคนบอกลอยได้เพราะเคยเห็นเรือบรรทุกของตั้งเยอะไม่เห็นจม จากนั้นเด็กๆลองใส่ลูกแก้วเรื่อยๆ เด็กบอกเรือยังลอยอยู่ (เพราะลูกแก้วยังจำนวนน้อย) เมื่อใส่มากเข้าเรือจมต่อหน้าเด็กๆ ในการจัดกิจกรรมการทดลองดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จากกิจกรรมทำให้เด็กสังเกตขณะที่เรือลอยและเรือจม รู้จักการจำแนกหนัก เบา และสื่อสารบอกได้ว่าเรือจมเพราะมีลูกแก้วเยอะ เด็กได้คิดและหาคำตอบในการทดลองโดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติเองจากสื่ออุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมไว้ในแต่ละกิจกรรม เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปสังเกตสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ

ดังนั้น  การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรม              การเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จากการสังเกตขณะเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานและทำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละครั้งเด็กได้นำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อสาร จึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านได้เป็นอย่างดีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ในระดับปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อสนองการเรียนรู้ของเด็กให้เต็มศักยภาพและประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี


บันทึกการเรียน


งานที่ต้องส่ง

การทดลอง กระดุมไม่ยอมจมน้ำ
ทำไมกระดุมจึงลอยขึ้นและจมลงสลับไปมาได้




อุปกรณ์การทดลอง
1. กระดุมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า ¾ นิ้ว 1 เม็ด หรือมากกว่า
2. แก้วน้ำ 1 ใบ
3. น้ำโซดา

ลงมือทดลอง
1. เติมน้ำโซดาลงไปในแก้วน้ำ ห่างจากขอบแก้วประมาณครึ่งนิ้ว
2. หย่อนกระดุมลงไปในแก้ว
3. เมื่อกระดุมลอยขึ้น ใช้นิ้วกดกระดุมให้จมลงไป

ผลการทดลอง
        เมื่อหย่อนเม็ดกระดุมลงไปในน้ำโซดา จะเกิดฟองอากาศรอบๆ กระดุม และเมื่อกระดุมลอยขึ้นมาแล้ว ใช้นิ้วกดให้กระดุมจมลงไปอีก กระดุมจะลอยขึ้นมาและจมลงสลับไปมา ตราบเท่าที่น้ำโซดายังมีฟองอยู่ เราอาจทำการทดลองโดยใช้กระดุมมากกว่า 1 เม็ด เพื่อที่เราจะได้เห็นกระดุมบางเม็ดลอย บางเม็ดจม
        เหตุผล ฟองอากาศที่เกิดขึ้นคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้น้ำโซดาซ่า เมื่อฟองอากาศสัมผัสกับกระดุม จึงมีแรงพอที่จะทำให้กระดุมลอยขึ้น




ของเล่น เครื่องร่อนลม






วิธีทำ
1.นำกระดาษเปล่ามาห่อหลอดดูดน้ำ ถ้ากระดาษแผ่นใหญ่เกินไปให้ตัดส่วนที่เกินออก
2.ใช้เทปกาวติดกระดาษที่พันหลอดให้แน่นจากนั้นพับปลายด้านหนึ่งเข้ามาแล้วติดด้วยเทปกาวส่วนปลายอีกด้านหนึ่งให้ตัดกระดาษออกเหลือแต่หลอด
3.ตัดกระดาษแข็งเป็นปีกเครื่องบินทาสีตกแต่งให้สวยงาม

4.ใช้เทปกาวติดหลอดเข้ากับปีกเครื่องบิน

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12



การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตรสำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ ที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ.2556

เวลา 14.10 -17.30 น.




สาธิตการสอน Cooking ข้าวผัด




เตรียมวัตถุดิบ





เริ่มทำข้าวผัด





ใกล้จะสำเร็จแล้ว





คุณครูอธิบายขั้นตอนสอนเด็ก





เสร็จเรียบร้อยแล้วค่า


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตรสำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ ที่ 16 เดือนกันยายน พ.ศ.2556

เวลา 14.10 -17.30 น.


ทำกิจกรรมเขียนแผนการสอนCooking

อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม ๆ ละ 5 - 6  คน  แล้วนั่งรวมกลุ่มเพื่อเขียนแผนการสอนCooking

จุดประสงค์
เด็กสามารถบอกวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการประกอบอาการได้
เด็กสามารถบอกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบก่อนใส่และหลังใส่ได้
เด็กสามารถบอกรสชาติของแกงจืดได้
เด็กสามารถบอกขั้นตอนในการทำได้
ประสบการณ์สำคัญ
การสังเกต
การทดลอง
การเปรียบเทียบ
การคาดคะเน

กิจกรรม
        ขั้นนำ
เด็กและครูร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกันในการทำอาหาร
เด็กและครูสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเมนูอาหารที่ทำในวันนี้

        ขั้นสอน
 1     เด็กและครูร่วมกันสรุปข้อตกลงเมนูอาหารในวันนี้
 2     ครูนำวัตถุดิบมาให้เด็กๆดูและครูถามว่า
"เด็กๆรู้จักวัตถุดิบที่ครูนำมาหรือไม่"
"เด็กๆคิดว่ารสชาติของผักแต่ละชนิดมีรสชาติอย่างไร"
"เด็กๆลองดูซิว่าของแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร"
3     ครูเริ่มสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู
4     ครูให้เด็กๆสังเกตวัตถุดิบที่ใส่ลงไปแล้วบอกว่ามีลักษณะอย่างไร
5     ครูเด็กชิมรสชาติของอาหารก่อนปรุงรสและหลังปรุงรส

         ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันชิมรสชาติของอาหาร












บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตรสำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ ที่ 26 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

เวลา 14.10 -17.30 น.




    ***วันนี้อาจารย์ได้ติดประชุม อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่คณะศึกษาศาสตร์***





บันทึกการเรียนครั้งที่ 9



การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตรสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 17 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

เวลา 14.10 -17.30 น.


** เรียนชดเชย  เนื่องจากหยุด วันแม่ **

        อาจารย์ให้คนที่ยังไม่นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์มา
นำเสนอและนำเสนอการทดลอง และอาจารย์ได้นำกล่องที่ไม่ใช้แล้วหลายขนาด มาแจกให้ กลุ่มละ 1 กล่อง โดยให้นักศึกษาเลือกกล่องขนาดใดก็ได้นำไปผลิตสื่อวิทยาศาสตร์




บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตรสำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ ที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

เวลา 14.10 -17.30 น.



ไม่มีการเรียนการสอนเนื่่องจากเป็นวันหยุด(วันแม่)




วันแม่แห่งชาติ

ประวัติวันแม่

          
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป 

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ 

          ต่อมาถึง พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

 กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ 

          
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

          2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ  

          3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

          4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

          ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย

เพลงที่ใช้ในวันเเม่
          ค่าน้ำนม คือ เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ เเต่งขึ้นโดย อาจารย์ สมยศ ทัศนพันธ์ ได้เรียบเรียงบทเพลงที่เรียกได้ว่า ขึ้นหิ้งอมตะ และเป็นงานเพลงชิ้นเอก ซึ่งได้ฟังเมื่อไร เป็นต้องหวนระลึกถึงบุญคุณของเเม่เเละวันคืนเก่าๆ ของวิถีไทยในสมัยก่อน

          เนื้อเพลง นอกจากจะให้เราระลึกถึงพระคุณเเม่เเล้วยังทำให้เรามองเห็นขนบดั้งเดิมตามวิถีไทย หลายอย่างจากเนื้อเพลง เช่นการศึกษาของผู้ชายไทยสมัยก่อนนั้น มักจะอยู่ในวัดวาอาราม ซึ่งเป็นแหล่งสอนสั่งความรู้ ทางโลก อ่านออกเขียนได้ และ ทางธรรม อันได้แก่ การถือศีล และยึดมั่นในพระรัตนไตรนอกจากนั้น ยังมีความเชื่อกันอีกว่า หากลูกชายบ้านไหน ได้บวชเรียน ก็จะส่งแผ่ อานิสงส์ไปให้กับพ่อแม่ ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสู่ที่ดี ๆ เมื่อถึงกาลแตกดับ

          ท่วงทำนองเสนาะโสต และ ทุ้มเย็น กับคำร้องที่ตรงไป ตรงมา ชวนให้นึกภาพตามได้ไม่ยาก แม้แต่เด็กเล็กๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใครฟังเพลงนี้แล้วจะต้องหลั่งน้ำตาให้กับความซาบซึ้งแห่งรักที่แม่ มีให้เรา...

          เพลง ค่าน้ำนม

          
แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล แม่เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล
         
 แต่เล็กจนโตโอ้แม่ถนอม แม่ผ่ายผอมย่อมเกิดแต่รักลูกปักดวงใจ เติบโตโอ้เล็กจนใหญ่ นี่แหละหนาอะไรมิใช่ใดหนาเพราะค่าน้ำนม 
         
 ควรคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสม โอ้ว่าแม่จ๋าลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสมกลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน 

          ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย
( ซ้ำ *, ** )